Posted on

เมนูที่ 1 ไข่กระทะ 3 กษัตริย์

ส่วนประกอบ

  1. ไข่ไก่สด2 ฟอง
  2. กุนเชียง ตรา เจ๊ไน้ หั่นแผ่นตามยาว5-8 แผ่น
  3. หมูหยอง ตรา เจ๊ไน้ 1-2 ช้อนโต๊ะ
  4. หมูยอหั่นชิ้นเล็ก5-10 ชิ้น
  5. เกลือป่น1/4 ช้อนชา
  6. ซีอิ้วขาว2 ช้อนชา
  7. น้ำตาลทราย1/4 ช้อนชา
  8. ต้นหอมซอย1 ต้น
  9. พริกไทยป่น1/4 ช้อนชา
  10. กระเทียมเจียว1ช้อนชา
  11. น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันงา1 ช้อนโต๊ะ
  12. กระทะ7 นิ้ว พร้อมฝา

 

วิธีการทำ

  1. ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันงารอให้ร้อน นำหมูยอ กุนเชียงลงผัด ตักขึ้นพักไว้
  2. ตั้งกระทะ เปิดไฟอ่อนๆ ตอกไข่ลงกระทะ โรยเกลือทั่วๆ ใส่ซีอิ้วขาวและน้ำตาลทราย ปิดฝา 1 นาที
  3. โรยกุนเชียง หมูหยอง ตรา เจ๊ไน้ และหมูยอ แล้วยกลงจากเตา
  4. โรยต้นหอม พริกไทยป่น กระเทียมเจียว ตามความชอบ พร้อมเสริฟ
Posted on

เหตุที่ถุงขนมขบเคี้ยวและอาหารต่างๆ ต้องอัดลมให้ถุงพอง

สาเหตุที่แท้จริงในการทำถุงขนมขบเคี้ยวและอาหารต่างๆให้พองตัวนั้นมีอยู่หลายเหตุผล และแต่ละเหตุผลก็เพื่อผู้บริโภค

กล่าวคือ การรักษาคุณภาพอาหารให้สดใหม่และมีรสชาติเหมือนกับตอนทำเสร็จใหม่ๆนั้นเป็นเรื่องที่ยาก ซึ่งปัญหาสำคัญของขนมขบเคี้ยวและอาหารต่างๆนั้นก็คือเรื่องของอากาศออกซิเจนและความชื้น ที่จะทำให้อาหารในถุงมีรสชาติที่เปลี่ยนไปและมีอายุสั้นลง นี่คือเหตุผลหลักที่ทำให้ผู้ผลิตต้องทำการอัดลมถุงขนมขบเคี้ยวและอาหารต่างๆให้พอง

หลังจากรู้เหตุผลแล้ว เรามาดูส่วนประกอบของถุงขนมและอาหารกันดีกว่า โดยเราจะแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ

  1. ฟิล์มพลาสติกที่นำมาทำถุง ถุงที่นำมาใส่ขนมขบเคี้ยวและอาหารต่างๆนั้น ทำจากฟิล์มพลาสติกหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีความสามารถในการปิดกั้นอากาศและไอน้ำจากภายนอกที่จะเข้ามาในถุงที่แตกต่างกัน

ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ผลิตจึงเลือกใช้พลาสติกหลายชนิดในการปิดกั้นไม่ให้อากาศเข้ามาภายในถุง เพื่อให้อาหารที่อยู่ในถุงคงสภาพรสชาติและความสดใหม่ไว้ แต่ถึงจะมีการป้องกันอย่างดี เมื่อระยะเวลาผ่านไปหลายเดือนอากาศและไอน้ำก็ยังมีโอกาสในการแทรกซึมของเข้าไปในถุงได้อยู่ดี

  1. ก๊าซที่อัดเข้าไปในถุง ไม่ใช่ก๊าซหรืออากาศทั่วไป เพราะในอากาศมีออกซิเจน หากเติมออกซิเจนเข้าไปจะยิ่งทำให้ขนมขบเคี้ยวและอาหารต่างๆเกิดกลิ่นเหม็นหืนได้เร็วขึ้น ก๊าซที่อัดเข้าไปในถุงจะเป็นก๊าซไนโตรเจน โดยอากาศในถุงจะถูกดูดออกก่อนเติมก๊าซไนโตรเจนเข้าไป ก๊าซไนโตรเจนจะไม่ทำปฏิกิริยากับโมเลกุลอื่นๆ หรือก็คือจะเป็นการช่วยคงสภาพอาหารไว้ เพื่อรักษาความสดและรสชาติของอาหารที่อยู่ในถุงให้นานที่สุด

และอีกเหตุผลหนึ่งที่จะต้องอัดก๊าซไนโตรเจนเข้าไป ก็เพื่อลดแรงกระแทก ลดการแตกหักของขนมและอาหารในถุงระหว่างการขนส่งที่อาจมีการโยนบ้าง หล่นบ้าง  เพราะไม่มีผู้ผลิตรายใดอยากให้ขนมหรืออาหารที่ผลิตออกมามีลักษณะแตกละเอียด เมื่อไปถึงมือผู้บริโภค

จากเหตุผลทั้งหมดดังกล่าว ทำให้ถุงขนมขบเคี้ยวและอาหารต่างๆมีลักษณะพองเหมือนอย่างที่เห็นกันทั่วไป เชื่อแน่ว่าผู้บริโภคที่ได้อ่านบทความนี้จะต้องเข้าใจเหตุผลแล้วอย่างแน่นอน  เพราะผู้ที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดก็คือผู้บริโภคที่ได้รับประทานขนมและอาหารอร่อยๆ หน้าตาสวยงามนั้นเอง

Posted on

เมนูที่ 2 ข้าวผัดแฮมหยอง

ส่วนประกอบ

  1. ข้าวหอมมะลิ
  2. หมูหยอง ตรา เจ๊ไน้
  3. น้ำมันมะกอก
  4. ไข่ไก่
  5. แฮม
  6. พริกหวาน 3 สี
  7. พริกไทยป่น
  8. ต้นหอม
  9. ซอสปรุงรส
  10. น้ำตาลทราย
  11. กระเทียม

วิธีการทำ

  1. ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันมะกอกตั้งไฟพอร้อน สับกระเทียมลงไปผัดพอเหลือง
  2. ผัดแฮมและไข่ให้เข้ากัน และใส่พริกหวาน 3 สี ผัดให้เข้ากัน
  3. ใส่ข้าวหอมมะลิผัดคลุกเคล้าและปรุงรสด้วยซอสปรุงรส น้ำตาล พริกไทยป่น ผัดให้เข้ากัน
  4. โรยด้วย หมูหยอง ตรา เจ๊ไน้ ตามด้วยต้นหอม พร้อมเสิร์ฟ
Posted on

เมนูที่ 3 ข้าวต้มหมูสับ

ส่วนประกอบ

  1. ข้าวสวยสุก 1 ถ้วย
  2. หมูหยอง ตรา เจ๊ไน้ 1-2 ช้อนโต๊ะ
  3. ซี่โครงไก่ 0.5 โล
  4. หมูสันในสับ 2 ขีด
  5. ซอสปรุงรส
  6. น้ำตาลทราย
  7. ต้นหอม/ผักชี
  8. พริกไทยป่น

 

วิธีการทำ

  1. ต้มน้ำให้เดือด แล้วใส่โครงไก่ ต้มไฟอ่อนๆ ประมาณ 60 นาที จนได้น้ำสต็อคที่หอมหวาน
  2. แยกน้ำสต็อคตั้งไฟ ใส่หมูสับ รอจนหมูสุก
  3. ใส่ข้าวสวยสุก และปรุงรสตามชอบ ด้วยซอสปรุงรส และน้ำตาลทราย รอจนเดือด
  4. ตักใส่ชาม โรยด้วยหมูหยอง ตรา เจ๊ไน้  และต้นหอม/ผักชี และพริกไทยป่น พร้อมเสิร์ฟ